วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

ErrorProvider




ErrorProvider ถือได้ว่าเป็น Control ที่เพิ่มความหล่อให้กับโปรแกรมของเราอย่างยิ่งยวด แถมยังทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ง่ายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย แต่ ErrorProvider กับได้รับความสนใจของนักพัฒนาโปรแกรมน้อยเท่าที่ควร (บางคนแทบไม่เคยใช้มันเลยด้วยซ้ำ) สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่รู้จัก ErrorProvider มากนักเราไปดูกันเลยว่า ErrorProvider ทำอะไรได้บ้าง
โดยปกติแล้ว ErrorProvider มักจะถูกหยิบยกมาใช้ในการแสดงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการใช้งานโปรแกรม (ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากการ Input ข้อมูล) โดยเจ้า ErrorProvider จะถูกแสดงไปที่บริเวณจุดที่เกิดข้อผิดพลาด (จากภาพแสดงไปที่ด้านขวาของ TextBox จากการใส่ข้อมูลผิดพลาด) ซึ้งทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อผิดพลาดนั้นๆได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น เราไปดูตัวอย่างการใช้งานกัน (ตัวอย่างให้แสดง ErrorProvider หากหากข้อมูลที่รับเข้ามาไม่ใช้ตัวเลข)


ขั้นตอนที่ 1 : Design


ทำการออกแบบหน้าจอตามรูปด้านบน (ภาพที่ 1) และ Add ErrorProvider ไปยัง Form โดยการไปที่ Toolbox แล้วก็ลากไปวางไว้บน Form แล้วทำการตั้งชื่อ ตามที่เราต้องการ (ตัวอย่างตั้งชื่อเป็น EP)

ขั้นตอนที่ 2 : Coding

ทำการ Coding ไปที่ Event Click ของ Button ตรวจสอบ โดยเป็นคำสั่งตรวจสอบเงือนไขว่าค่าที่รับมาเป็นข้อมูลชนิดตัวเลขหรือไม่ดังนี้

If Not IsNumeric(TextBox1.Text) Then

            EP.SetError(TextBox1, "กรุณาใส่เฉพาะตัวเลข"
        Else
                          EP.SetError(TextBox1, String.Empty) <---(1)
End If



จากตัวอย่างเห็นได้ว่าการกำหนด ErrorProvider ทำได้โดยการกำหนด Patameter ผ่าน Method .SetError โดยจะใช้ Parameter 2 ตัวคือ
1.       Control ที่ต้องการ Add ErrorProvider ในตัวอย่าง Add ไปที่ TextBox1)
2.       String ค่าที่ต้องการแสดงใน ErrorProvider
หากไม่ต้องการให้แสดง ErrorProvider สามารถทำได้โดยใส่ String.Empty (หรือค่าว่าง “”) ไปยัง Parameter ตัวที่ 2 (<---(1))






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น